หากสนใจบริการติดตั้งโดยทีมช่างประสบการณ์สูง ควบคุมคุณภาพ
โดยวิศวกรของ ISO-NOISE โดยตรง สามารถติดต่อได้
ซึ่งประตูบานเลื่อน มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงน้อยกว่าประตูบานเปิด เพราะมีรูรั้วทั่วบริเวณ แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเสียง จำเป็นต้องติดตั้งผนังเบาเพิ่ม เพื่อติดตั้งประตู หรือหน้าต่างบานสวิงที่มีคุณสมบัติกันเสียงเข้าไปครับ โดยรูปแบบตัวอย่างการติดตั้ง เป็นไปตามรูปด้านล่าง
3. ในทำนองเดียวกัน กรณีที่เสียงรบกวนมาจากภายนอกอาคารเช่น เสียงรถยนต์บนถนน หรือบนทางด่วน เสียงรถไฟฟ้าที่วิ่งผ่าน แต่โดยทั่วไปแล้วเสียงรบกวนจะเข้ามามากทางหน้าต่างหรือประตู โดยเฉพาะประตู และหน้าต่างบานเลื่อนของระเบียงภายในห้องพัก
เส้นสีน้ำเงิน แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงกระแทกจากพื้นคอนกรีต ที่มีการติดตั้งฝ้ากันเสียง
เส้นสีเขียว แสดงประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงกระแทกจากพื้นคอนกรีตที่การปูพรมหนาไว้บนผิว
ระบบฝ้าที่แนะนำสามารถช่วยป้องกันเสียงแรงกระแทกได้เทียบเท่ากับการปูพรมหนาบนพื้นคอนกรีต ดังแสดงในผลการคำนวณดังต่อไปนี้
2. เสียงรบกวนที่เกิดจากเสียงเคาะ หรือเสียงกระแทกจากห้องด้านบน ส่วนใหญ่เสียงประเภทนี้จะเกิดน้อยในคอนโด เพราะคอนโดมีการใช้ไม้ลามิเนตปูทับพื้นคอนกรีต ซึ่งไม้ลามิเนตจะมีการรองด้วยแผ่นโฟน จะช่วยให้สามารถดูดซับเแรงกระแทก และลดเสียงรบกวนที่ทะลุลงมาด้านล่างได้
อย่างไรก็ตาม เจ้าของคอนโดหลายท่าน นิยมรื้อไม้ลามิเนตและปูกระเบื้องในห้องแทน ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อมีการเดินด้วยรองเท้าส้นแข็ง เสียงลากเก้าอี้ เสียงทำสิ่งของที่มีความเช่น ไม้ โลหะ ห้องด้านล่างจะได้ยินเสียงดังอย่างชัดเจน (ซึ่งห้องข้างๆ ก็อาจจะได้ยินเสียงด้วยเช่นกัน)
วิธีที่ดีที่สุดคือ เจรจาให้เจ้าของห้องเอาพรมบาง (เป็นอย่างน้อย ปูรองพื้นกระเบื้องเพื่อลดแรงกระแทกลง แต่บ่อยครั้งพบว่าการเจรจาไม่ได้ผล ดังนั้นห้องผู้รับที่อยู่ด้านล่างสามารถแก้ไขได้โดยการติดตั้งระบบฝ้ากันเสียงที่ช่วยลดความรุนแรงของเสียงกระแทกได้ดังนี้
ติดตั้งโครงผนังเบายิปซั่มหรือไฟเบอร์ซีเมนต์ (ความหนาโครงอย่างน้อย 64 มิลลิเมตร)
เข้ากับผนังเดิมของบ้าน และกรุภายในด้วยฉนวน ISO-NOISE เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง
แนะนำให้ใช้
- แผ่นยิปซั่มความหนา 12 มม. จำนวน 2 แผ่น
หรือ
- แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ความหนา 8 มม. จำนวน 2 แผ่น
ทำการติดตั้งให้ชนท้องฝ้าและยิงซิลิโคนอุดรอยรั่วทั้งหมดให้เรียบร้อย
1. การแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนจากเสียงเพลงที่ห้องข้างๆ เปิดเสียงดังจนทะลุมายังห้องผู้รับ หลักการเพียงแค่ทำการติดตั้งระบบผนังเบาอีก 1 ชั้น และกรุภายในด้วยแผ่น ISO- NOISE โดยแนะนำว่าหากสามารถติดตั้งให้โครงผนังเบา ไม่สัมผัสกับผนังเดิมของห้องจะช่วยให้ประสิทธิภาพการป้องกันเสียงเพิ่มขึ้นได้
เริ่มแก้ไขปัญหาเสียงรบกวนทีละรูปแบบ
เสียงเคาะกระแทก จากการเดินด้านบนทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน เกิดเสียงทะลุลงมาด้านล่าง
เสียงเปิดเพลงจากห้องข้าง ที่ทะลุผนังมาอีกด้านของห้องผู้รับ
ปัญหาเสียงรบกวนภายในห้องพักของอาคารชุด คอนโดมิเนียม หรือ อพาร์ตเม้นต์นั้น เป็นปัญหาที่ผู้อยู่อาศัยประสบกันเยอะมากครับในปัจจุบัน โดยปัญหาที่ผู้อยู่อาศัยเจอหลักๆ จะพบอยู่ 2 ปัญหาคือ ผนังที่กั้นระหว่างห้องไม่สามารถป้องกันเสียงรบกวนที่เกิดจากกิจกรรมห้องข้างๆ ดังทะลุเข้ามายังภายในห้องของเรา และอีกปัญหาก็คือ เสียงเดิน ของตก หรือเสียงลากโต๊ะ เก้าอี้ จากห้องด้านบน ซึ่งสร้างเสียงรบกวนเข้ามายังภายในห้องของเราที่อยู่ด้านล่าง และอีกปัญหาที่พบก็คือ ห้องพักใกล้ถนน ทางด่วน หรือแนวรถไฟฟ้า ซึ่งเสียงก็สามารถจะทะลุผ่านผนังและหน้าต่าง เข้ามาภายในห้อง โดยในหน้านี้จะมาอธิบายวิธีแก้ไขทีละแบบอย่างละเอียดเลยครับ
ส่วนปัญหาเลี้ยงสุนัขไว้ภายในห้องและต้องการป้องกันเสียงสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ลิงค์นี้ได้นะครับ http://www.iso-noise.com/dog.html