สั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติม
Mobile: 062-195-1909
Line id: @getbest
เขียนโดย
ภูมิใจ ประเสริฐกุลวงศ์
M.Eng Civil Enineer, Chulalongkorn University
Msc. Sound and Vibration Studies , University of Southampton
Mobile: 062-195-1909
Line id: satan_boat
E-mail: getbestsoundthailand@gmail.com
กรณีศึกษา การป้องกันเสียงรบกวนภายในห้องนอนจากเสียงเครื่องบินที่บินผ่านหลังคาบ้าน ซึ่งตั้งใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ
2. ทำการติดตั้งระบบฝ้ากันเสียง โดยใช้ระบบฝ้ากันเสียงแบบ 2 ชั้น หรือแบบแซนวิช แทนฝ้าฉาบเรียบเดิมของห้อง
ระบบฝ้ากันเสียงแบบ2 ชั้น หรือผมชอบเรียกว่าระบบฝ้ากันเสียงแบบแซนวิช จะทำโดยการรื้อฝ้าฉาบเรียบเดิมของลูกค้าออก โดยทำการมาร์กตำแหน่งแนวฝ้าเดิมของลูกค้าไว้ เพื่อฝ้าชั้นล่างสุดของระบบฝ้ากันเสียงจะยังคงมีความสูงเท่าเดิม เพื่อให้ลูกค้าไม่รู้สึกอึดอัด โดยจากประสบการณ์นั้น ฝ้าภายในห้องที่มีคนใช้งานจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร หากต่ำกว่านั้นจะทำให้คนที่อยู่ภายในห้องรู้สึกอึดอัดครับ
โดยหลังจากทำการรื้อฝ้าฉาบเรียบเดิมเสร็จ ช่างจะทำการติดตั้งตั้งโครงฝ้าฉาบเรียบให้สูงขึ้นไปจากระดับแนวฝ้าเดิม และทำการติดตั้งแผ่นยิปซั่ม 12 มม 2 แผ่นประกบกัน โดยทำการฉาบทุกชั้น เพื่อเป็นฝ้าชั้นแรก
หลังจากนั้นจะทำการยิงโครงเหล็กรูปตัวยู ยึดกับโครงฝ้าชั้นแรก เพื่อเตรียมผูกโครงฝ้าชั้นที่ 2 ที่อยู่ในระดับต่ำลงมา โดยข้อควรระวังคือ ลวดที่ผูกกับโครงฝ้าชั้นแรก จะต้องผูกให้ถี่ขึ้นกว่าเดิมอีกเท่าตัว เพื่อช่วยรับน้ำหนักฝ้าชั้นแรกครับ
หลังจากติดตั้งโครงฝ้าชั้นที่สองไว้แล้วนั้น ให้ทำการกรุฉนวนกันเสียง ISO NOISE โดยวางบนโครงฝ้าชั้นที่สอง ให้เต็มพื้นที่ เพื่อให้ฉนวน isonoise ทำหน้าที่กั้นเสียงที่เดินทางผ่านฝ้าชั้นบนลงมายังฝ้าชั้นล่างครับ
ก่อนที่จะถึงขั้นตอนสุดท้าย คือการปิดแผ่นฝ้าชั้นสอง ให้เดินสายไฟทิ้งตำแหน่งที่จะติดตั้งโคมไฟไว้ด้วยนะครับ เพื่อความสวยงาม ก่อนที่จะปิดแผ่นฝ้าชั้นล่าง ด้วยแผ่นยิปซั่ม 12 มม 2 แผ่นประกบกัน โดยฉาบทุกชั้นให้เรียบร้อย
เนื่องจากมีเจ้าของบ้าน ซึ่งซื้อบ้านใกล้สนามบินสุวรรณภูมิเป็นเวลากว่า 10 ปี แล้ว และเจ้าของบ้านเพิ่งต่างงาน โดยที่แฟนของเจ้าของบ้านได้แต่งเข้ามาอยู่ภายในบ้าน แต่พบกับปัญหาที่เสียงเครื่องบิน ซึ่งบินผ่านหลังคาบ้านนั้น ส่งเสียงดังทะลุเข้ามายังภายในบ้าน ทำให้แฟนเจ้าของบ้าน ซึ่งเพิ่งจะเข้ามาอยู่ในบ้านหลังนี้ รู้สึกปวดหัว และรู้สึกเครียดจากเสียงรบกวนของเครื่องบินที่บินผ่านหลังคาบ้านแทบทุกวัน
โดยในวันที่มีกระแสลมแรง เครื่องบินจะเปลี่ยนทิศทางการบินขึ้นลงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ในวันนั้น จะมีเครื่องบินบินผ่านบ่อยและใกล้มาก ทำให้เสียงรบกวนยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ประกอบกับแฟนของเจ้าของบ้านกำลังจะมีน้อง ทำให้ไม่อยากให้น้องตอนคลอดออกมาตกใจตื่นจากเสียงเครื่องบินที่บินผ่าน จึงได้ปรึกษากับทางวิศวกรเพื่อหาทางป้องกันเสียงรบกวนจากเครื่องบินที่ดังเข้ามายังภายในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอนที่วางแผนจะให้น้องที่เพิ่งคลอดจะเข้ามานอนในห้องนอนนี้
สาเหตุของปัญหาเสียงรบกวนภายในห้องนอนจากเสียงเครื่องบินที่บินผ่าน
หากพิจารณาเสียงเครื่องบินที่บินผ่านหลังคาบ้านแล้ว เนื่องจากเสียงของเครื่องบินแพร่กระจายมาในลักษณะของทรงกลม ดังนั้น พื้นผิวของหลังคาบ้าน จะเป็นพื้นผิวที่ได้รับพลังงานเสียงที่ตกกระทบมากที่สุด โดยธรรมชาติพื้นผิวของหลังคาบ้าน ซึ่งก่อสร้างโดยการนำกระเบื้องหลังคาวางเรียงซ้อนกัน ย่อมจะมีรอยต่อรอยรั่วของอากาศเก็บพื้นที่ผิวหลังคา ซึ่งเสียงซึ่งเป็นพลังงานที่อาศัยอากาศเป็นตัวกลางในการเดินทาง สามารถที่จะทะลุผ่านพื้นผิวหลังคามาได้ในปริมาณสูงมากครับ และประกอบกับ ฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นเพียงแค่แผ่นยิปซั่มความหนา 9 มม เพียงแผ่นเดียว แถมมีช่องดาวไลต์ ซึ่งมีรูรั่วอากาศขนาดใหญ่ ย่อมทำให้เสียงของเครื่องบิน ทะลุผ่านเข้ามาภายในห้องนอนได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนั้น โดยปกติ ประตูหน้าต่างของกรอบตัวบ้านนั้น ก็เป็นกระจากหน้าต่างบานเลื่อน ซึ่งมีรอยรั่วของอากาศโดยรอบตัวบานกระจก
ย่อมส่งผลให้พลังงานเสียงเดินท่างผ่านเข้ามาอย่างง่ายดาบ และจากการสำรวจบ้านของลูกค้ารายนี้ ประตูและหน้าต่างกระจกมีรอยรั่วขนาดใหญ่ ย่อมจะแทบไม่ช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกได้เลย ส่งผลให้เสียงภายในห้องจึงค่อนข้างดัง ไม่เหมาะแก่การอาศัยพักผ่อนเลยครับ
แนวทางวิธีปรับปรุงห้องนอนให้มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงจากเครื่องบิน
จากสาเหตุของเสียงรบกวนที่เดินทางผ่านเข้ามายังภายในห้องนอนของลูกค้านั้น ทางเราจึงได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ห้องนอนห้องนี้ มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงสูงมากที่สุดที่ทำได้ โดยยังคงใช้งานห้องนี้ได้อย่างดีครับ โดยแบ่งแนวทางการปรับปรุงออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. ทำการติดตั้งระบบผนังเบากันเสียง เพิ่มจากผนังก่ออิฐเดิมของตัวห้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเสียงของระบบผนัง และนอกจากนั้น ยังใช้ผนังที่หนาขึ้น เป็นตัวรองรับประตู และหน้าต่างกันเสียง ที่จะติดตั้งเพิ่มเติมให้แก่ห้องนอนห้องนี้
2. ทำการติดตั้งระบบฝ้ากันเสียง โดยใช้ระบบฝ้ากันเสียงแบบ 2 ชั้น หรือแบบแซนวิช แทนฝ้าฉาบเรียบเดิมของห้อง
3. ทำการติดตั้งระบบประตู หน้าต่าง ป้องกันเสียง คุณภาพสูง เพิ่มเข้าไปอีก 1 ชุด โดยที่ยังคงประตู หน้าต่างเดิมของห้องไว้
1. ทำการติดตั้งระบบผนังเบากันเสียง
การติดตั้งระบบผนังเบากันเสียงเพิ่มเติมจากผนังเดิมนั้น นอกจากจะช่วยเพิ่มการป้องกันเสียงให้แก่ระบบผนังบ้านแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างคือการเป็นตัวรองรับวงกบประตู หน้าต่าง กันเสียงที่จะติดตั้งเพิ่มเข้ามาภายในห้อง
โดยวิธีการทำผนังกันเสียง ทำได้โดยการรื้อฝ้าเดิมของห้องออกก่อนครับ แล้วทำการเดินโครงผนังโดยการติดตั้งโครงคร่าวเหล็กสำหรับผนังเบา เข้ากับผนังเดิมของบ้าน โดยแนะนำให้ติดตั้งอย่าให้สัมผัสกับผนังโดยตรง ให้ห่างออกมาประมาณ 5 ซม และทำการเดินโครงตามแนวนอน เพิ่มทำให้โครงผนังมีความแข็งเพิ่มขึ้น ซึ่งพิสูจน์มาแล้วว่า ช่วยให้ผนังกันเสียงได้เพิ่มขึ้นจริงๆ
หลังจากนั้นทำการกรุฉนวนกันเสียง ISO NOISE เข้าไปภายในผนัง ให้เต็มพื้นที่ก่อนปิดด้วยแผ่นยิปซั่ม 12 มม จำนวน 2 แผ่น ประกบกัน โดยทำการฉาบทุกชั้น เพื่อป้องกันรอยรั่วของอากาศ
3. ทำการติดตั้งระบบประตู หน้าต่าง ป้องกันเสียง คุณภาพสูง เพิ่มเข้าไปอีก 1 ชุด โดยที่ยังคงประตู หน้าต่างเดิมของห้องไว้
หลังจากที่ทำระบบผนังและฝ้าเพดานแล้วนั้น ห้องมีจะประสิทภาพในการป้องกันเสียงที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเราจะได้ยินเสียงรบกวนเดินผ่านมาทางประตูและหน้าต่างอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นจุดอ่อนที่เสียงสามารถเดินทางผ่านเข้ามาได้ง่ายที่สุด
โดยประตู หน้าต่าง ของบ้านหลังนี้ มีรอยรั่วค่อนข้างเยอะ จนทำให้แทบจะป้องกันเสียงไม่ได้เลย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มระบบประตุหน้าต่างกันเสียงให้แก่ห้องนี้เพิ่มจากเดิมอีก 1 ชุด
ข้อแนะนำที่สำคัญในการเลือกระบบประตูหน้าต่างกันเสียง แนะนำว่า ระบบประตุ หน้าต่างกันเสียง ควรจะต้องใช้ระบบที่มีการออกแบบให้มีการป้องกันเสียงอย่างดี คือ รอยต่อระหว่างบานกับวงกบ จะต้องมีรูปแบบที่ทำให้เวลาบานแล้ว มีความแนบสนิท ป้องกันรอยรั่วของอากาศระหว่างบานกับวงกบได้เป็นอย่างดี และมีการซีลยางรอยต่ออย่างแน่นหนา
อีกจุดที่สำคัญคือ ตัวกระจก จะต้องใช้กระจกกันเสียงชนิดพิเศา เช่นกระจกลามิเนต ที่มีความหนา กระจก อย่างน้อย 10 มม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงที่ดีเยี่ยม
หลังกการติดตั้งจะต้องมีการซีลรอยต่อย่างดี เพื่อป้องกันรอยรั่วของอากาศ ซึ่งจะเป็นตัวที่ทำให้เสียงจากภายนอกทะลุผ่านเข้ามาได้ง่ายครับ